วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ประเทศบรูไน






ธงประจำชาติประเทศบรูไน



ประเทศบรูไน

ชื่อทางการ             : บรูไนดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)
เมืองหลวง              : บันดาร์เสรีเบกาวัน (Bandar Seri Begawan)
ศาสนาประจำชาติ   : ศาสนาอิสลาม
ดอกไม้ประจำชาติ   : ดอกซิมปอร์ (Simpor) ดอกซิมปอร์มีปรากฏอยู่บนธนบัตร 1 ดอลลาร์บรูไนด้วย
วันชาติ                   : 23 กุมภาพันธ์
วันที่เป็นสมาชิกอาเซียน : 7 มกราคม พ.ศ.2527
ภาษาประจำชาติ     : ภาษามาเลย์ (Bahasa Melaysia)

ภาษาราชการ         : ภาษามาเลย์ (Bahasa Melaysia)

ประวัติ




ประวัติ

บรูไนเป็นที่รู้จักและมีอำนาจมากในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยมีอาณาเขตครอบครองส่วนใหญ่ของเกาะบอร์เนียวและส่วนหนึ่งของหมู่เกาะซูลู มีชื่อเสียงทางการค้า สินค้าส่งออกที่สำคัญในสมัยนั้น ได้แก่ การบูร พริกไทย และทองคำ
หลังจากนั้นบรูไนเสียดินแดนและเสื่อมอำนาจลงเนื่องจากสเปน และฮอลันดาได้แผ่อำนาจเข้ามา
จนถึงสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในปี พ.ศ. 2431 (ค.ศ. 1888) ด้วยความวิตกว่าจะต้องเสียดินแดนต่อไปอีก บรูไนจึงได้ยินยอมเข้าอยู่ภายใต้อารักขาของอังกฤษ และต่อมาในปี พ.ศ. 2449 (ค.ศ. 1906) บรูไนได้ลงนามในสนธิสัญญายินยอมอยู่เป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษอย่างเต็มรูปแบบ
ในปี พ.ศ. 2472 (ค.ศ. 1929) บรูไนสำรวจพบน้ำมันและแก๊สธรรมชาติที่เมืองเซรีอา ทำให้บรูไนมีฐานะมั่งคั่งในเวลาต่อมา
ในปี พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) ได้มีการเลือกตั้ง ซึ่งพรรคประชาชนบอร์เนียว (Borneo People’s Party) ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น แต่ถูกกีดกันไม่ให้จัดตั้งรัฐบาล ต่อมาจึงได้ยึดอำนาจจากสุลต่าน แต่สุลต่านทรงได้รับความช่วยเหลือจากกองทหารกูรข่าที่อังกฤษส่งมาจากสิงคโปร์ หลังจากนั้นได้มีการประกาศภาวะฉุกเฉิน และต่ออายุทุก ๆ 2 ปี เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

หลังจากที่อยู่ภายใต้อารักขาของอังกฤษมาถึง 95 ปี บรูไนก็ได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527  (ค.ศ. 1984)

สุสานสุลต่านโบลเกียห์ ใกล้กับเมืองโกตะบาตู

ลักษณะทางภูมิศาสตร์




ลักษณะทางภูมิศาสตร์
          บรูไนมีพื้นที่ประมาณ 5,765 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ บนเกาะบอร์เนียว ในทะเลจีนใต้


ภูมิประเทศ
          ประกอบด้วยพื้นที่สองส่วนที่ไม่ติดกัน โดยพื้นที่ด้านตะวันตก มีประชากร 97% ส่วนพื้นที่ด้านตะวันออกซึ่งเป็นภูเขา มีประชากรเพียง 10,000 คน สำหรับพื้นที่ชายฝั่งทางด้านเหนือของบรูไน ติดกับทะเลจีนใต้ ส่วนพรมแดนทางบกที่เหลือทั้งหมดถูกล้อมรอบด้วยรัฐซาราวักประเทศมาเลเซีย

ภูมิอากาศ
          ภูมิอากาศเขตร้อน มีอุณหภูมิและความชื้นสูง และมีฝนตกชุกตลอดปี

ประชากร
          มีจำนวนประชากรประมาณ 401,890 คน ส่วนใหญ่มีเชื้อชาติมลายูรองลงมาคือ จีน 

และชาวพื้นเมือง


ลักษณะภูมิประเทศบรูไน

การเมืองการปกครอง




การเมืองการปกครอง
          ปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นทั้งประมุข นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พระมหากษัตริย์ของบรูไนจะต้องเป็นชาวบรูไนเชื้อสายมาเลย์โดยกำเนิดและนับถือศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่ สำหรับพรรคการเมืองจะถูกจำกัดบทบาทอย่างมาก ปัจจุบันบรูไนแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 เขต คือบรูไน- มูอารา เบเลต ตูตง และเตมบูรง
รัฐธรรมนูญปัจจุบันซึ่งแก้ไขล่าสุดเมื่อ1 มกราคม พ.ศ. 2527กำหนดให้สุลต่านทรงเป็นอธิปัตย์ คือเป็นทั้งประมุข นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นชาวบรูไนเชื้อสายมาเลย์โดยกำเนิด และจะต้องเป็นมุสลิมนิกายซุนนี่ย์ นอกจากนี้ บรูไนไม่มีสภาที่ได้รับเลือกจากประชาชน
นโยบายหลักของบรูไน ได้แก่การสร้างความเป็นปึกแผ่นภายในชาติ และดำรงความเป็นอิสระของประเทศ ทั้งนี้ บรูไนมีที่ตั้งที่ถูกโอบล้อมโดยมาเลเซีย และมีอินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศมุสลิมขนาดใหญ่อยู่ทางใต้ บรูไนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสิงคโปร์ เนื่องจากมีเงื่อนไขคล้ายคลึงกันหลายประการ อาทิ เป็นประเทศเล็ก และมีอาณาเขตติดกับประเทศมุสลิมขนาดใหญ่
นับจากการพยายามยึดอำนาจเมื่อปี พ.ศ. 2505 รัฐบาลได้ประกาศกฎอัยการศึกส่งผลให้ไม่มีการเลือกตั้ง รวมทั้งบทบาทพรรคการเมืองได้ถูกจำกัดอย่างมาก จนปัจจุบันพรรคการเมือง ได้แก่ Parti Perpaduan Kebangsaan Brunei (PPKB) และ Parti Kesedaran Rakyat (PAKAR) ไม่มีบทบาทมากนัก เนื่องจากรัฐบาลควบคุมด้วยมาตรการต่าง ๆ อาทิ กฎหมายความมั่นคงภายในประเทศ (Internal Security Act (ISA)) ห้ามการชุมนุมทางการเมือง และสามารถถอดถอนการจดทะเบียนเป็นพรรคการเมืองได้ ตลอดจนห้ามข้าราชการ (ซึ่งมีเป็นจำนวนกว่าครึ่งของประชากรบรูไนทั้งหมด) เป็นสมาชิกพรรคการเมือง นอกจากนี้ รัฐบาลเห็นว่าพรรคการเมืองไม่มีความจำเป็น เนื่องจากประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นหรือขอความช่วยเหลือจากข้าราชการของสุลต่านได้อยู่แล้ว

เมื่อเดือนกันยายนพ.ศ. 2547 ได้มีการจัดการประชุมของสภาเป็นครั้งแรก ตั้งแต่บรูไนประกาศเอกราช


สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาเลาะห์

เศรษฐกิจและทรัพยากรที่สำคัญ



เศรษฐกิจและทรัพยากรที่สำคัญ

          บรูไนเป็นประเทศร่ำรวย เพราะเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่เป็นอันดับ 3 ในอาเซียน และเป็นผลิตก๊าซธรรมชาติ LNG เป็นอันดับ 4 ของโลก สินค้าส่งออกที่สำคัญ คือ น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ นอกจากนี้ บรูไนยังมีอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลที่มีมาตรฐานการผลิตที่ถูกต้องตามบัญญัติของศาสนาอิสลาม ปัจจุบันบรูไนมีการพัฒนาโครงสร้างเศรษฐกิจให้มีความหลากหลาย โดยการส่งเสริมบทบาทของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม รวมทั้งเปิดเสรีด้านการค้า
บรูไนเป็นประเทศที่ร่ำรวยไปด้วยน้ำมันและก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำรายได้มาสู่ประเทศเป็นอันดับหนึ่ง แต่รัฐบาลบรูไนก็เริ่มตระหนักว่าประเทศชาติจะพึ่งพิงรายได้จากทรัพยากรทั้งสองอย่างเท่านี้ไม่ได้เสียแล้ว แต่ควรหันมาให้ความสนใจกับทรัพยากรธรรมชาติอี่น ๆ ที่ยังคงมีมากมายเช่น ป่าไม้ แร่ธาตุ สัตว์น้ำ และพื้นที่อันอุดมสมบรูณ์เหมาะแก่การเกษตร เพื่อเป็นการเร่งรัดการพัฒนารูปแบบของการลงทุน สุลตานบรูในได้ทรงตั้งกระทรวงขึ้นมาใหม่คือกระทรวงอุตสาหกรรมและทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อทำหน้าที่ดูแลวางแผนและดำเนินงานด้านอุตสาหกรรมและการลงทุนโดยเฉพาะ โครงการอุตสาหกรรมที่ได้รับการสนับสนุนและเร่งรัดส่งเสริมเป็นพิเศษ ได้แก่ อุตสาหกรรมขนาดเล็ก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่สัมพันธ์กับภาคเกษตร ป่าไม้ และการประมง
การดำเนินการช่วงแรกนั้น รัฐบาลมุ่งสนับสนุนโรงงานและอุตสาหกรรมขนาดเล็กในภูมิภาคที่สามารถป้อนผลผลิตให้กับผู้บริโภคในท้องถิ่นก่อนเป็นอันดับแรกแล้วจึงขยายไปสู่การผลิตเพื่อการส่งออกในระยะยาว รัฐบาลได้ตั้ง่ความหวังว่าอุตสหกรรมเหล่านี้จะเป็นแหล่งที่เข้ามาแทนที่อุตสาหกรรมน้ำมันที่อาจหมดไปในอนาคต โดยที่ประชาชนยังมีหลักประกันว่าจะมีงานทำ บรูไนเป็นประเทศที่มั่งคั่งด้วยทรัพยากร ขณะนี้ยังมีประชากรน้อยมาก แต่บรูไนก็ไม่ได้หวังพึ่งพารายได้จากการขายน้ำมันเพียงอย่างเดียว ได้พยายามที่จะพัฒนาประเทศให้พึ่งพาตัวเองได้ อย่างไรก็ตามบรูไนเป็นประเทศที่มีค่าครองชีพสูงมากแห่งหนึ่งของโลก แต่รัฐบาลได้ให้สวัสดิการอย่างดีเลิศแก่ประชาชน อาทิ ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ส่วนบุคคล ค่ารักษาพยาบาลฟรี การศึกษา รัฐให้เล่าเรียนจนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษานอกจากนี้ยังมีสวัสดิการแก่ข้าราชการของรัฐ อุตสาหกรรมสำคัญของประเทศ คือ น้ำมัน ส่วนพืชเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว กล้วย

อุตสาหกรรม


บรูไนมีอุตสาหกรรมอื่น นอกเหนือจากอุตสาหกรรมน้ำมันอยู่บ้าง อาทิ การผลิตอาหาร            และปลากระป๋อง

ศาสนา




ศาสนา

                ส่วนใหญ่ชาวบรูไนนับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนี่ย์ 67% รองลงมาเป็นศาสนาพุทธ

นิกายมหายาน 13% ศาสนาคริสต์ 10% ศาสนาฮินดู ความเชื่อพื้นเมืองและอื่นๆตามมา





สถานที่ท่องเที่ยว



สถานที่ท่องเที่ยว





1. มัสยิดทองคำ (Jame Ar' Hassanil Bolkiah Mosque)

              มัสยิดทองคำ Jame Ar' Hassanil Bolkiah Mosque ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1988 และเปิดตัวอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1994 เพื่อเป็นสัญลักษณ์สำคัญที่แสดงถึงการครองราชย์ครบ 25 ปี ขององค์สุลต่าน และมัสยิดแห่งนี้ยังยิ่งใหญ่และอลังการที่สุดในระเทศบรูไนด้วย จุดเด่นของมัสยิดทองคำ คือ หลังคาสีฟ้าน้ำทะเลที่มีโดมทองขนาดยักษ์ตั้งตระหง่านอยู่ตรงกลาง ด้านหน้าของตัวมัสยิดนั้นจะมีสระน้ำอยู่ ซึ่งดูคล้ายกับทัชมาฮาลในประเทศอินเดีย







2.พิพิธภัณฑ์รอยัลเรกกาเลีย (RoyalRegalia Museum)

          พลาดไม่ได้ด้วยประการทั้งปวงเลยสำหรับ พิพิธภัณฑ์รอยัลเรกกาเลีย ที่ตั้งอยู่ใจกลางกรุงบันดาร์ เสรี เบกาวัน เพราะเป็นที่ซึ่งรวบรวมข้าวของเครื่องใช้ของสุลต่านองค์ปัจจุบัน ทั้งฉลองพระองค์,เครื่องทรงทองคำอาวุธ และเครื่องราชบรรณาการจากประเทศต่าง ๆ ที่มีความวิจิตรงดงาม เช่น คริสตัล หยก งาช้าง ฯลฯ นอกจากนี้ ยังมีพระที่นั่งแบบจำลองให้ได้ชมกันด้วย สำหรับส่วนที่เป็นไฮไลท์ ได้แก่ ห้องเล็ก ๆ ที่จำลองขบวนพาเหรดและการตกแต่งอันสวยงาม เนื่องในวโรกาสฉลองครบรอบ 25 ปี การครองราชย์ขององค์สุลต่านนั่นเองค่ะ ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ไม่อนุญาตให้ถ่ายรูปภายใน ใครที่พกกล้องไปจะต้องฝากไว้ที่เคาน์เตอร์ด้านนอกเท่านั้น







3. พระราชวัง Istana Nurul Iman (The Istana Nurul Iman palace)

              พระราชวัง Istana Nurul Iman สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1987 และมีมูลค่ากว่า 1.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐภายในของพระราชวังถูกตกแต่งอย่างประณีตด้วยวัสดุชั้นดีและประกอบ
ไปด้วย 1,788 ห้องห้องน้ำ 257ห้อง และ สระน้ำ นอกจากนี้ ยังมีห้องจัดเลี้ยงขนาดใหญ่ซึ่งบรรจุได้ถึง 5,000 คนเลยทีเดียว ที่สำคัญยังพร้อมไปด้วยเครื่องอำนวยความสะดวกมากมาย